Digital Transformation เป็นการคิดกลยุทธ์และการเปลี่ยนองค์กรด้วยดิจิทัลในการทรานส์ฟอร์มธุรกิจเพื่อสร้างการเติบโตครั้งใหม่ สำหรับองคร์ขนาดใหญ่, ธุรกิจ SMEs, Startup ได้ได้พลิกฟื้นและสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจได้ โดยองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร และหน่วยงานของรัฐบาล ก็สามารถนำแนวคิด Digital Transformation มาปรับใช้เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันและพัฒนาประเทศได้เช่นกัน

Part 1 : ทำไมต้องทรานส์ฟอร์ม

หลักการและเหตุผล ที่มาของโครงการ

ด้วยภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ธุรกิจในหลายอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบอย่างหนัก สำหรับประเทศไทยก็มีการคาดการณ์กันว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2563 จะติดลบมากกว่า 10% มากที่สุดในประเทศอื่นๆ ในอาเซียน (ไม่รวมบรูไนและสิงคโปร์) เนื่องจากการส่งออก การท่องเที่ยว และการลงทุนจากต่างประเทศ ที่ยังไม่ฟื้นตัว

รายงานจาก World Economic Outlook, World Bank, ธนาคารแห่งประเทศไทย และ สภาพัฒน์

ผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 กำลังก่อตัว การพักหนี้ของภาคธุรกิจกำลังจะสิ้นสุดในเดือนตุลาคม คาดการณ์จีดีพีต่ำลงทุกครั้ง หนี้ครัวเรือนและอัตราว่างงานสูงเป็นประวัติการณ์

เริ่มต้นที่ธนาคารโลก (World Bank) ประเมินอัตราการเติบโตของประเทศไทยพบว่ามีอัตราการเติบโตน้อยที่สุดในอาเซียน แม้ว่าจะเป็นชาติที่รับมือวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้เป็นอย่างดี ในปีนี้อัตราการเติบโตของไทยหรือจีดีพีในระดับพื้นฐานจะติดลบ 8.3% จากปีที่แล้ว และระดับต่ำสุดที่ติดลบ 10.4% หากสถานการณ์การแพร่ระบาดย่ำแย่ลงไปอีก

ต่อเนื่องที่ข้อมูลหนี้ครัวเรือนไตรมาส 2/2563 ของธนาคารแห่งประเทศไทย (Bank of Thailand) สะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจที่หดตัวลงจากวิกฤตโควิด-19 ซึ่งส่งผลให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนของไทยเพิ่มสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 18 ปี อยู่ที่ 13.58 ล้านล้านบาท หรือราว 83.8% ต่อจีดีพี สูงขึ้นจากไตรมาส 1/2563 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 80.1% ต่อจีดีพี

นอกจากนี้ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ได้รายงานภาวะสังคมไทยประจำไตรมาส 2/2563 พบว่าประเทศไทยมีผู้ว่างงาน 7.5 แสนคน คิดเป็นอัตราว่างงานร้อยละ 1.95 จากกำลังแรงงานราว 38 ล้านคน เพิ่มขึ้นเท่าตัวจากช่วงเวลาปกติ และนับเป็นอัตราการว่างงานสูงสุดในรอบ 11 ปีหรือนับตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2552

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีการรับมือกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ดี ภาคธุรกิจในประเทศเริ่มกลับมาดำเนินการได้ตามปกติ แต่แหล่งรายได้สำคัญอย่างภาคท่องเที่ยวยังคงถูกจำกัดการเดินทางไม่มีนักท่องเที่ยวต่างประเทศเข้ามาท่องเที่ยวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 รวมถึงภาคส่งออกที่แม้จะเริ่มฟื้นตัวแต่ยังคงอยู่ในสภาวะติดลบ

KKP Research มองว่าเศรษฐกิจไทยยังขาด 3 ปัจจัยสำคัญที่จะสนับสนุนการยกระดับทางเทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มศักยภาพของเศรษฐกิจไทย คือ

(1) Infrastructure โครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะด้านความรู้และบุคลากร

(2) Investment การลงทุน

(3) Incentives ระบบแรงจูงใจตามกลไกตลาด

อ่านสรุป GDP Q3/63 เพิ่มเติมได้จาก SOLO INVESTOR

ที่มา : หนังสือ Digital Transformation Canvas

รายงาน e-Conomy SEA 2020 จัดทำโดย Google, TEMASEK และ BAIN & COMPANY

พบว่าอุตสาหกรรมหนึ่งยังสามารถสร้างการเติบโต ได้แก่ อุตสาหกรรมดิจิทัล พบว่า จะมีการเติบโตเฉลี่ยปีละ 24% ในปี 2020 - 2025 สอดคล้องกับคำแนะนำของ Bill Gates สำนักวิจัยหรือบริษัทที่ปรึกษาทั่วโลก ที่แนะนำที่ว่า โควิด-19 เป็นตัวเร่งให้ธุรกิจต้องทำ Digital Transformation เพื่อความอยู่รอดและสร้างการเติบโตครั้งใหม่ให้กับธุรกิจ

รายงานของ Statista

ตรงกับ รายงานของ Statista พบว่า ธุรกิจทั่วโลกให้ความสำคัญกับการทำ Digital Transformation เป็นลำดับแรก และจะมีการลงทุนใช้จ่ายในส่วนนี้เพิ่มจาก 0.96 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2017 เพิ่มขึ้นเป็น 2.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2023 หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตต่อปีสูงถึง 52%

บทวิจัยของ BloombergNEF’s (BNEF) 2020 National Industrial Digitalisation Raking

ตัวชี้วัดด้านดิจิทัลและการทำ Digital Transformation เป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบัน เห็นได้จากบทวิจัยของ Bloomberg NEF’s (BNEF) 2020 National Industrial Digitalization Raking

ได้สำรวจประเทศที่มีการทำ Digital Transformation พบว่า ประเทศที่เป็นผู้นำในการทำกลยุทธ์ดิจิทัล และ Digital Transformation 10 อันดับแรก ได้แก่ เกาหลีใต้ สิงคโปร์ เยอรมนี สหราชอาณาจักร จีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศษ แคนาดา สวีเดน

สำหรับประเทศไทย พบว่า ยังไม่ติดอันดับ ในกลุ่มประเทศชั้นนำที่ทำกลยุทธ์ดิจิทัล และ Digital Transformation ได้ดี และยังมีอันดับที่ต่ำกว่าประเทศอินเดีย แม้ว่าจะมีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อประชากรสูงกว่าก็ตาม

รายงานของ IMD World Competitive Yearbook 2020

สอดคล้องกับรายงานของ IMD World Competitive Year book 2020 พบว่า ประเทศผู้นำที่มีความสามารถในการแข่งขันสูง ได้แก่ สิงคโปร์ เดนมาร์ค สวิตเซอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ สวีเดน แคนนาดา สหรัฐอเมริกา

ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 29 ตกลงมาจากอันดับ 25 จากปี 2019 โดยปัจจัยสำคัญให้ภาพรวมของประเทศไทยมีคะแนนต่ำ ได้แก่ ทักษะของแรงแงาน ขีดความสามารถของธุรกิจ SMEs และ ความสามารถในการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีของธุรกิจ

รายงานจาก E-Government Development Index (EGDI) in 2020 โดย United Nations

ซึ่งเป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพของการให้บริการของภาครัฐ ได้แก่ Online Service, Telecommunication Infrastructure และ Human Capital ประเทศอันดับ 1 - 5 ได้แก่ Denmark, Republic of Korea, Estonia, Finland, Australia โดย อันดับ 11 Singapore อันดับ 14 Japan อันดับ 45 China อันดับ 47 มาเลเซีย

ส่วนประเทศไทย อันดับ 57

เอกอัครราชทูต 5 ชาติ ประกอบด้วย สหรัฐฯ อังกฤษ ออสเตรเลีย เยอรมนี และญี่ปุ่น ออกแถลงการณ์ ร่วมกระตุ้นรัฐบาลไทยปรับการทำงาน ปฏิรูปศักยภาพในการดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้เหนือกว่าใครในภูมิภาค เสนอแผนนำไปปฏิบัติได้ทันที 10 ข้อ สร้างความโปร่งใส ขจัดความซ้ำซ้อนกฎระเบียบ หากทำได้เชื่อไทยติดท็อปเทนของโลกในดัชนีประเทศน่าลงทุนของเวิลด์ แบงก์ ขณะเยอรมนีย้ำไทยต้องพัฒนาระบบการศึกษา ฝึกคิดเชิงวิพากษ์ และวางแผนระยะยาวให้เป็น

เอกอัครราชทูต 5 ชาติ รวมพลังเสนอแนะและกระตุ้นรัฐบาลไทยให้ปรับปรุงการทำงานให้ทันสมัยเข้ากับโลกในยุคปัจจุบัน เพื่อดึงดูดให้นักธุรกิจต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทยให้มากขึ้น มีขึ้นเมื่อวันที่ 13 พ.ย.

อ่านทั้งหมดได้ ที่นี่

10 ข้อ ปฏิรูปดิจิทัล โดยเอกอัครราชทูต 5 ชาติ ประกอบด้วย สหรัฐฯ อังกฤษ ออสเตรเลีย เยอรมนี และญี่ปุ่น

1.ให้ลดขั้นตอนพิธีการศุลกากรการค้าผ่านแดนสู่ระบบดิจิทัล

2.จัดตั้งพิธีการศุลกากรตามระบบบัญชี ที่สามารถระบุความเสี่ยง และทำให้ระบบประมวลภาษีศุลกากรทันสมัย

3. ดำเนินโครงการทบทวนการอนุญาตของทางราชการ ทบทวนกฎและระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำจัดความซ้ำซ้อน

4.เพิ่มแพลตฟอร์มรูปแบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้กระบวนการทำงานอยู่บนระบบออนไลน์ภายในปี 2568

5.ให้ลดความซับซ้อนในการสมัครขอรับการส่งเสริมการลงทุนของบีโอไอ

6.สร้างสภาพแวดล้อมเพื่อเดินหน้าสู่การค้าดิจิทัล

7.ปฏิรูปข้อกำหนดที่เข้มงวดเกี่ยวกับแรงงานฝีมือชาวต่างชาติ และลดขั้นตอนขอวีซ่าสำหรับแรงงานฝีมือ

8.เน้นความสำคัญของความโปร่งใสเพื่อคลี่คลายข้อพิพาท

9.ปรับปรุงกระบวนบังคับคดีล้มละลาย รวมทั้งตีพิมพ์และจัดทำดัชนีกฎหมายว่าด้วยการล้มละลายทั้งหมด

10.เพิ่มกระบวนการดิจิทัลในการอนุมัติขององค์การอาหารและยาออกเอกสารแบบดิจิทัล และรับลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์

Digital Transformation Trends ปี 2021

คุณพจ ธนพงศ์พรรณ ธัญญรัตตกุล ได้เปิดเผย เทรนด์ของการทำ Digital Transformation Trends ปี 2021 ที่จะเกิดขึ้นในปีหน้า ทั้งเรื่องของการทำ 5G, Smart Home, Smart City, Artificial Intelligence (AI), Digital Currency, Blockchain, Industry 4.0, Digital Health, Cyberserurity & Privacy, Quantum & Super Computer ที่ จะเป็น New Normal ที่เกิดขึ้นจริงทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทยเองด้วย

อย่างไรก็ตาม จากสถิติของ Mckinsey พบว่า บริษัทกว่า 70% ประสบกับความล้มเหลวในการทำ Digital Transformation และมีเพียง 16% เท่านั้นที่ประสบความสำเร็จ

Part 2 : ต้นแบบการทรานส์ฟอร์ม

ที่มา : หนังสือ Digital Transformation Canvas

ที่มา : IDC DX Awards และ IDC Media Center

South Korea, Singapore, Germany, UK, and China top BloombergNEF’s (BNEF) 2020 national industrial digitalization ranking

BNEF’s annual ranking highlights the top countries for industrial digital transformation and technology development, taking into account policy, technology, investment, education levels, venture funding and more. Danya Liu, lead author and digital industry analyst at BNEF, said: “The ranking reveals the markets where industrial systems – from manufacturing to power distribution – are likely to experience the fastest improvements in efficiency thanks to smart technology. Perhaps more importantly, they also indicate which governments are positioned to become new global technology leaders.

Digitalization has become a key pillar of government policy as nations globally struggle to prop up Covid-19 impacted economies. Government digital strategy is aimed at boosting industrial competitiveness and building capabilities in key technologies such as artificial intelligence (AI) and the Internet of Things (IoT).

South Korea took the top spot in 2020,

advancing from third place in BNEF’s 2019 ranking. The move was propelled by policy developments like a national AI strategy and its ‘new deal’ recovery package which set digitalization and green technology as top national priorities. Several pieces of legislation solidified the link between digitalization and sustainability globally in 2020, with leading nations elevating these two imperatives as vital elements for future economic growth.

ที่มา : Bloomberg NEF

In response to the soaring public attention, the Korean Ministry of Science, ICT and Future Planning (MSIP) has laid out the Artificial Intelligence Information Industry Development Strategy, which aims to strengthen the foundation for AI growth. (Source : World Bank )

CHINA 5.0

ผมเรียกจีนยุคนี้ว่าเป็น “China 5.0” โดยต้องการสะท้อนความหมายในสามมิติ คือ การเมืองจีนภายใต้ผู้นำรุ่นที่ 5 เศรษฐกิจจีน

ที่กำลังเปลี่ยนผ่านสู่ยุคใหม่ และเทคโนโลยีจีนที่กำลังยกระดับจากยุค 4.0 คือเทคโนโลยีดิจิทัล มาสู่ยุค 5.0 คือเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือ AI อย่างรวดเร็ว

ผมฉายภาพเหล่านี้ในหนังสือเล่มใหม่ของผม “China 5.0: สีจิ้นผิง เศรษฐกิจยุคใหม่ และแผนการใหญ่ AI” ที่พิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Bookscape โดยผมมีความเชื่อมาตลอดว่า เพื่อจะรู้เท่าทันจีน เราจะต้องพยายามเชื่อมโยงและทำความเข้าใจจีน ทั้งจากมุมของการเมือง เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี จะละเลยด้านใดด้านหนึ่งไปไม่ได้

===== ที่มา : อาร์ม ตั้งนิรันทร คณะนิติศาสตร์ และผู้อำนวยการ ศูนย์จีนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , ผู้เขียนหนังสือ CHINA 5.0

นอกจาก 5.0 แล้ว ในอนาคต จีนยังมีการตั้งเป้าหมายใหญ่ ที่ตั้งไว้ว่าภายในปี 2021 ซึ่งพรรคคอมมิวนิสต์จีนจะครบรอบ 100 ปี จีนจะเป็นประเทศที่กินดีอยู่ดี และกำจัดความยากจนสำเร็จ ภายในปี 2035 จีนจะเป็นประเทศทันสมัยที่พัฒนาแล้ว และในปี 2049 ที่จะครบรอบ 100 ปีของสาธารณรัฐประชาชนจีน จะเป็นประเทศสังคมนิยมมหาอำนาจสมัยใหม่ด้วย

Part 3 : ทรานส์ฟอร์มอย่างไร

วันนี้หลายธุรกิจไม่ได้ถามถึง What และ Why ในเรื่อง Digital Transformation แล้ว แต่ถามถึง How-to จึงเป็นที่มาของหนังสือ Digital Transformation in Action และ Digital Transformation Canvas ที่พูดถึงหลักการทั้ง 5 และกระบวนปฏิบัติทั้ง 9 ในการทรานส์ฟอร์มธุรกิจ

Part 4 : จะเริ่มและวัดผลความสำเร็จในการทรานส์ฟอร์มอย่างไร

เราจะนำธุรกิจของเราเข้าไปอยู่ในส่วน 16% ที่สำเร็จได้อย่างไร หลายองค์กรที่กำลังจะเริ่ม หรือ ได้เริ่มทำ Digital Transformation ไปบ้างแล้ว ต่างประสบปัญหาและตั้งคำถาม ว่า

1. องค์กรเราควรจะเริ่มอย่างไร ?

2. ปัจจุบันองค์กรเรามีความพร้อม หรือ ได้ทำ Digtial Transformation ไปแล้วมากน้อยแค่ไหน ?

3. อะไรคือสิ่งที่เรียกว่าสำเร็จ และจะวัดความสำเร็จของการทำ Digital Transformation อย่างไร ?

ด้วยเหตุนี้ สถาบัน Digital Transformation Academy จึงได้พัฒนา

โมเดลวัดระดับการทรานส์ฟอร์มองค์กร (Digital Transformation Readiness Model - DXRM)

เพื่อเตรียมความพร้อมและพัฒนาแผนงานหรือ Roadmap ในการทรานส์ฟอร์มองค์กร เพื่อสร้าง New S-Curve การเติบโตครั้งใหม่ของธุรกิจ ประกอบด้วย

1. การวัดพร้อมของธุรกิจในการทำ Digital Transformation (Digital Transformation Readiness Assessment)

ทั้งก่อนและระหว่างการทำ เพื่อตรวจสอบความพร้อมและระดับความสามารถ ครอบคลุมประเด็นต่างๆ ทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ โอกาสทางธุรกิจ การแข่งขัน ลูกค้า ความพร้อมของข้อมูล การสร้างนวัตกรรม และองค์กร

2. การวัดระดับการทรานส์ฟอร์มองค์กร (Digital Transformation Maturity Level)

แบ่งเป็น 5 ระดับ ตั้งแต่ Level 0 ถึง 4 ได้แก่ Level 0 คือ องค์กรที่ไม่มีความสามารถด้านดิจิทัล, Level 1 คือ องค์กรที่ใช้ดิจิทัลเพราะเหตุเฉพาะหน้า หรือ ad-hoc, Level 2 คือ องค์กรที่ใช้ดิจิทัลเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการและแผนงานของธุรกิจ แต่ยังไม่ได้ใช้ดิจิทัลในระดับที่มาช่วยกำหนดทิศทางและขับเคลื่อนกลยุทธ์ของธุรกิจ, Level 3 คือ องค์กรที่ทำ Digtial Transformation ได้ดีในระดับประเทศ และ Level 4 คือ องค์กรที่ทำ Digital Transformation ได้ดีในระดับนานาชาติหรือระดับโลก

3. การวัดความสำเร็จของการทรานส์ฟอร์ม (Digital Transformation Success Factors)

ทั้ง 7 ด้าน ได้แก่ Determine Digital Trigger, Cultivate Digital Culture, Develop Digital Vision, Determine Digital Drivers, Establish Digital Organisation, Determine Transformed Areas, Determined Impacts ตลอดเส้นทางการทำ Digital Transformation Journey เพื่อให้องค์กรสามารถสร้างการเติบโตครั้งใหม่ (New Growth หรือ New S-Curve), สามารถเปลี่ยนหลักธุรกิจเดิมเป็นธุรกิจใหม่ (Repositioning the Core) และมีผลประกอบการที่ดีขึ้น (Financials) ตามเกณฑ์การวัดความสำเร็จของธุรกิจที่ทำ Digital Transformation ของ Harvard Business Review

โมเดลวัดระดับการทรานส์ฟอร์มองค์กร (Digital Transformation Readiness Model - DXRM) จะเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถทราบถึงสถานะที่แท้จริงขององค์กร ว่าอยู่ในระดับใด เพื่อที่องค์กรจะสามารถพัฒนาแผนงาน และ Roadmap ในการทำ Digtial Transformation ให้มีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จได้

จะเห็นได้ว่า Digital Transformation นอกจากจะเป็นกลยุทธ์ในการเปลี่ยนองค์กรด้วยดิจิทัลในการทรานส์ฟอร์มธุรกิจเพื่อสร้างการเติบโตครั้งใหม่ สำหรับองคร์ขนาดใหญ่, ธุรกิจ SMEs, Startup แล้ว ยังสามารถใช้สำหรับการคิดกลยุทธ์และวางแผนการทรานส์ฟอร์มระดับประเทศได้เช่นกัน

โครงการ Digital Transformation Thailand

สถาบัน Digital Transformation Academy ได้มีส่วนช่วยองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งด้านความรู้ ทักษะ และ How-To ในการทำ Digital Transformation ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ในปี 2564 ที่จะถึงนี้ จะร่วมกับพันธมิตรทั้งภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษาต่างๆ ในการทำโครงการ Digital Transformation Thailand 2021 เพื่อช่วยขับเคลื่อน Digital Economy และการทำ Digital Transformation ให้เกิดขึ้นจริงในประเทศไทย และเพื่อสนับสนุนการสร้างอุตสาหกรรม New S-Curve ใหม่ ทั้ง 10 อุตสาหกรรมใน 10 เขตเศรษฐกิจใหม่ สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี ประเทศไทยอีกด้วย ซึ่งในสภาวะการณ์เช่นนี้เราจะมารอคอยความหวังและความช่วยเหลือจากภาครัฐแต่เพียงอย่างเดียวคงไม่ได้ องค์กรและหน่วยงานทุกภาคส่วนสามารถที่จะศึกษาและร่วมมือกันนำองค์ความรู้ด้าน Digital Transformation นำไปปรับใช้ ทั้งในส่วนบุคคลไปสู่องค์กร ซึ่งหากเราทำได้สำเร็จประเทศชาติและสังคมก็จะสามารถสร้างการเติบโตครั้งใหม่ ก้าวไปสู่ New S-curve ได้อย่างเต็มรูปแบบและฝ่าวิกฤตครั้งนี้ไปได้แน่นอน

สามารถติดตามกิจกรรมและข่าวสารอัพเดทเพิ่มเติมได้ที่ Facebook และ www.DigitalTransformationThailand.com